***Welcome to the Buddhist Center of Dallas, Dallas, TX, USA ***ยินดีต้อนรับเข้าสู่เวปไซต์วัดพุทธดัลลัส เท็กซัส ประเทศสหรัฐอเมริกา ****

Main menu th-TH

mod_thai25clock

iCagenda - Calendar

No event in the calendar
พฤ
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28

Any Westerners Looking to Learn About Buddhism
At Wat Dallas we have a Buddhist Discussion Group for Western Students in English Every Wednesday at 7:00 PM in the Main Building after Chanting and Meditation. If you are interested in Buddhism or are a practicing Buddhist.Please join us on for an open discussion on Dhamma. Please question everything and come with all your questions. If you are needing assistance in becoming a monk and wish to learn more please contact Jack Boling. Kent and Jack Boling will be leading the discussion on Buddhism. If you need personal instruction you can contact Jack Boling at 940-594-7794 or Kent at 214-690-7797

วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา

flbar14

makhabuchaday

วันมาฆบูชา

          วันมาฆบูชา (ภาษาบาลี มาฆปูชา) (ภาษาอังกฤษ Magha Puja) เป็นวันสำคัญวันหนึ่งในทางพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท มาจากคำว่า มาฆปูรณมีบูชา หมายถึงการบูชาในวันเพ็ญกลางเดือนมาฆะของอินเดีย และจะตรงกับวับวันเพ็ญเดือน ๓ ตามจันทรคติของไทย จะตกอยู่ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ถ้าปีใดมีอธิกามาสคือมี ๘ สองคน จะเลือนไปทำในวันเพ็ญเดือน ๓ หนหลัง(เพ็ญเดือน ๔)

          วันมาฆบูชาเป็นวันสำคัญคือคล้ายกับวันที่พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงโอวาทปาฏิโมกข์ในท่ามกลางพระอรหันต์ ๑,๒๕๐ องค์ณ พระเวฬุวันมหาวิหาร เมืองราชคฤห์ รัฐพิหาร อินเดียในปัจจุบัน การประชุมครั้งนั้นเรียกว่า "จาตุรงคสันนิบาติ" อันประกอบด้วยองค์ ๔ กล่าวคือ

          ๑. วันนั้นเป็นวันเพ็ญ เดือน ๓

           ๒. พระสงฆ์ ๑.๒๕๐ องค์มาประชุมพร้อมกันโดยมิได้นัดหมาย

          ๓. พระสงฆ์เหล่านั้นล้วนเป็นพระอรหันต์

          ๔. พระสงฆ์เหล่านั้นล้วนเป็นเอหิภิกขุอุปสัมปทาคือได้รับการอุปสมบทจากพระพุทธเจ้าเองทั้งหมด

การประชุมครั้งนั้นเกิดขึ้นหลังจากพระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้แล้วเป็นเวลา ๙ เดือน

          พระพุทธเจ้าทรงทอดพระเนตรเห็นมหาสังฆนิบาต (การประชุมของพระสงฆ์ครั้งใหญ่) อันประกอบด้วยเหตุอัศจรรย์ดังกล่าว จึงทรงแสดงโอวาทปาฏิโมกข์คือหลักคำสอนสำคัญหรือหัวใจของพระพุทธศาสนาในมหาสังฆนิบาตนั้น พร้อมตรัสพระคาถา ๓ คาถากึ่งว่า

                     ขนฺตี ปรมํ ตโป ตีติกขา                    ขันติคือความอดทนเป็นตบะอย่างยิ่ง

                     นิพฺพานํ  ปรมํ  วทนฺติ  พุทฺธา             ท่านผู้รู้ทั้งหลายกล่าวพระนิพพานว่ายอดเยี่ยม

                     น หิ ปพฺพชิโต  ปรูปฆาตี                  ผู้ทำร้ายผู้อื่นไม่ชื่อว่าเป็นบรรพขิต

                     สมโณ  โหติ  วิเหฐยนฺโต                   ผู้เบียดเบียนผู้อื่นไม่ชื่อว่าเป็นสมณะ

                     สพฺพปาปสฺส  อกรณํ                       การไม่ทำบาปทั้งปวง

                     กุสลฺสูปสมฺปทา                              การทำแต่ความดี

                     สจิตฺตปริโยทปนํ                            การทำจิตของตนให้ผ่องใส

                    เอตํ  พุทฺธานสาสนํ                        นี่เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย

                    อนูปวาโท  อนูปฆาโต                    การไม่กล่าวร้ายและการไม่ทำร้าย

                    ปาติโมกฺเข จ สํวโร                        การสำรวมในพระปาฏิโมกข์

                    มตฺตญฺญุตา จ  ภตฺตสฺมึ                 ความเป็นรู้ประมาณในอาหาร

                   ปนฺตญฺจ  สยนาสนํ                       ที่นอนที่นั่งอันสงัด

                   อธิจิตฺเต จ  อาโยโค                       การประกอบความเพียรทางจิต

                   เอตํ  พุทฺธานสาสนํ                        นี่เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย

จากพระคาถา ๓ คาถากึ่งนี้ อาจสรุปได้เป็น ๓ ส่วน คือ หลักการ ๓ อุดมการณ์ ๔ และวิธีการ ๖ สำหรับเป็นแนวทางในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา

         คาถาแรกทรงกล่าวถึงอุดมการณ์อันสูงสุดของบรรพชิตในพระพุทธศาสนาที่มีลักษณะแตกต่างจากศาสนาอื่น อุดมการณ์ ๔ ประการ คือ บรรพชิตในพระพุทธศาสนาจะต้องมีความอดทนอดกลั้น มุ่งปฏิบัติเพื่อความหลุดพ้นอันเป็นเป้าหมายสูงสุด ไม่พึงเบียดเบียนผู้อื่นหรือทำร้ายผู้อื่น พึงเป็นผู้มีจิตใจสงบจากอุกศลวิตกทั้งปวง

        คาถาที่สองทรงกล่าวถึงหลักการอันเป็นหัวใจหรือหลักคำสอนในทางพระพุทธศาสนา เป็นการสรุปคำสอนในทางพระพุทธศาสนาลง ๓ ประการ คือ การไม่ทำบาป ทำแต่ความดี และการทำใจให้บริสุทธิ์

        คาถาที่สามทรงแสดงวิธีการที่พระธรรมทูตผู้เผยแผ่พระพุทธศาสนาจะต้องใข้วิธีการเดียวกันเหมือนกันกันหมดเพื่อจะได้เป็นไปในแนวทางเดียวกันในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา คือ การไม่กล่าวร้าย (เผยแผ่ศาสนาด้วยการไม่กล่าวร้ายโจมตีศาสนาอื่น) การไม่ทำร้าย (เผยแผ่ศาสนาด้วยการไม่ใช้กำลังบังคับขี่เข็ญให้เชือถือ) สำรวมระวังในสิกขาบททั้งหลาย (ประพฤติให้น่าเลื่อมใส) รู้จักประมาณในการบริโภค (ใช้สอยปัจจัยสี่พอประมาณ) ที่นอนที่นั่งสงัด (ไม่คลุกคลีกับหมู่คณะ) ประกอบความเพียร (พัฒนาจิตใจให้สูงขึ้น)

          นอกจากนี้  วันมาฆบูชายังมีความสำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ คล้ายกับวันที่พระพุทธเจ้าทรงปลงอายุสังขาร กล่าวคือในวันเพ็ญเดือน ๓ พรรษาสุดท้าย (คราวที่ทรงพระชนมายุ ๘๐ พรรษา) ณ ปาลาวเจดีย์ ทรงปลงอายุสังขารว่า อีก ๓ เดือนจากนี้ไปพระองค์จะเสด็จดับขันธปรินิพพาน

         กิจกรรมในวันมาฆบูชาก็คือ การประกอบพิธีทางพระพุทธศาสนา โดยทั่วไปนิยมทำบุญ ตักบาตร ฟังพระธรรมเทศนา เวียนเทียนรอบอุโบสถหรือสถูปเจดีย์พุทธสถานต่างๆ  เพื่อเป็นการระลึกถึงวันสำคัญที่เกิดเหตุการณ์สำคัญของพระพุทธศาสนา

visakhaday

วันวิสาขบูชา

วันวิสาขบูชา (ภาษาบาลี วิสาขปูชา) (ภาษาอังกฤษ Vesak) เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาทุกนิกายทั่วโลก และเป็นวันสำคัญในระดับนานาชาติด้วย ตามมติขององค์การสหประชาชาติ เพราะเป็นวันคล้ายกับวันที่เกิดเหตุการ์ที่สำคัญที่สุดในพระพุทธศาสนา ๓ เหตุการณ์ด้วยกันคือ วันประสูติ ตรัสรู้ และเสด็จดับขันธปรินิพพานของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยเหตุการณ์ทั้ง ๓ เหตุการณ์นั้นได้เกิดขึ้นในวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่า เดือน วิสาขะ หรือเดือน ๖ (แต่ต่างปีกัน) ชาวพุทธทั่วโลกถือว่าเป็นวันที่เกิดอัศจรรย์ยิ่ง และเรียกการบูชาในวันนี้ว่า วันวิสาขบูชา มาจากคำว่า วิสาขปูรณมี แปลว่าการบูชาในวันเพ็ญเดือนวิสาจะตามปฏิทินอินเดียซึ่งจะตรงกับวันเพ็ญเดือน ๖ ตามจันทรคติของไทยจะตกในช่วงเดือนพฤษภาคม ถ้าปีใดมีอธิกามา ๘ สองหน ก็จะเลื่อนไปวันเพ็ญเดือน ๗ แต่ประเทศอื่นที่ไม่ได้ใช้ปฏิทินจันทรคติบแบไทยก็จะจัดวันวิสาขบูชาในวันเพ็ญเดือน ๖

          วันวิสาขบูชาเป็นวันที่ระลึกถึงวันประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพานขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งตรงกับวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนวิสาขะ (เดือน ๖) ตรงกันทั้ง ๓ เหตุการณ์ คือ

          เช้าวันศุกร์ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ปี ก่อนพุทธศักราช ๘๐ ปี เจ้าชายสิทธัตถะ ประสูติที่พระราชอุทยานลุมพินีวันระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์กับเทวทหะ ปัจจุบันอยู่ที ตำบลรุมมินเด ประเทศเนปาล

          เช้ามืดวันพุธ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ปีระกา ก่อนพุทธศักราช ๔๕ ปี เจ้าชายสิทธัตถะได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อพระชนมายุ ๓๕ พรรษา ณ ใต้ร่มไม้ศรีมหาโพธิ์ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุระเวลาเสนานิคม หลังจากออกผนวชได้ ๖ ปี ปัจจุบันสถานที่แห่งนี้เรียกว่า พุทธคยา เมืองคยา รัฐพิหาร ประเทศอินเดีย

          หลังจากตรัสรู้แล้ว พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ออกประกาศพระศาสนาและโปรดเวไนยสัตว์เป็นเวลา ๔๕ ปี เมื่อพระชนมายุได้ ๘๐ พรรษา ก็เสด็จดับขันธปรินิพพาน เมื่อวันอังคาร ขึ้น ๑๕ เดือน ๖ ปีมะเส็ง ณ สาลวโนทยาน ของมัลลกษัตริย์ เมืองกุสินารา ปัจจุบันอยู่ในเมืองกุสีนคร รัฐอุตตรประเทศ อินเดีย

          วิสาขบูชา มีการนับถือปฏิบัติกันในหลายประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาทั้งมหายานและเถรวาททุกนิกายมาช้านานแล้ว ในบางประเทศเรียกพิธีนี้ว่า "พุทธชยันตี" (Buddhha Jayanti) และหลายประเทศให้ถือวันวิสาขบูชาเป็นวันหยุดทางราชการ นอกจากนี้ วันวิสาขบูชา ถือได้ว่าเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาสากล เพราะชาวพุทธทุกนิกายจะพร้อมใจกันจัดพิธีพุทธบูชาในวันนี้พร้อมกันทั่วโลก และด้วยเหตุนี้ ในที่ประชุมใหญ่สมัชชาสหประชาชาติจึงยกย่องให้วันวิสาขบูชาเป็น "วันสำคัญสากล" (International Day) ตามมติประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติที่ 54/112 ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๒

          ปัจจุบัน ประเทศไทยได้ประกาศให้วันวิสาขบูชาเป็นวันหยุดราชการ โดยพุทธศาสนิกชนทั้งพระบรมวงศานุวงศ์ พระสงฆ์ และประชาชน จะมีการประกอบพิธีต่างๆ เช่น การทำบุญตักบาตร ฟังพระธรรมเทศนา เวียนเทียนรอบพระอุโบสถหรือสถูปเจดีย์ เพื่อเป็นการบูชารำลึกถึงพระรัตนตรัยและเหตุการณ์สำคัญ ๓ คือ คล้ายกับวันประสูติ ตรัสรู้ และเสด็จดับขันธปรินิพพานขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงประกอบด้วย พระปัญญาคุณ พระบริสุทธิคุณ และพระมหากรุณาธิคุณ เหตุการณ์ทั้ง ๓ นี้ได้เกิดขึ้นในวันเพ็ญเดือน ๖

asanhabuchaday

 วันอาสาฬหบูชา

           วันอาสาฬหบูชา (ภาษาบาลี อาสาฬหปูชา) .(ภาษาอังกฤษ Asalha Puja) เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนานิกายฝ่ายเถรวาท คำว่า อาสาฬหบูชา ย่อมาจาก อาสาหฬปูรณมีบูชา แปลว่า การบูชาในวันเพ็ญเดือนอาสาฬหะ อันเป็นเดือนของอินเดีย ซึ่งตรงกับวันเพ็ญเดือน ๘ ตามปฏิทินจันทรคติของไทย ซึ่งมักจะตรงกับเดือนกรกฎาคม แต่ถ้าปีใดมีอธิกมาสคือ ๘ สองหน ก็จะเลื่อนไปทำกันในเดือนเพ็ญเดือน ๘ หลังแทน

             วันอาสาฬหบูชาได้รับการยกย่องว่าเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เนื่องจากเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นเมื่อก่อน ๔๕ ปีก่อนพุทธศักราช ในวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘  คือ ณ ป่าอิสิปตนมคฤทายวัน เมืองพาราณสี แคว้นกาสี ปัจจุบันอยู่ในรัฐอุตตรประเทศ อินเดีย อันเป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา พระเทศนากัณฑ์แรกทีมีชื่อว่า ธัมมจักกัปปวัตนสูตรแก่ปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ คือโกณฑัญญะ วัปปะ ภัททิยะ มหานามะ และอัสสชิ

           การแสดงปฐมเทศนาในครั้งนั้นทำให้พราหมณ์โกณฑัญญญะ ๑ในปัญจวัคคีย์ ได้เกิดดวงตาเห็นธรรมในพระธรรมเทศนาบรรลุเป็นพระอริยบุคคลโสดาบัน และได้ทูลขออุปสมบทในพระธรรมวินัยของพระพุทธเจ้า และพระองค์ทรงประทานการอุปสมบทด้วยเอหิภิกขุอุปสัมปทา พระอัญญาโกณฑัญญะจึงได้เป็นพระสาวกและภิกษุองค์แรกในโลก และทำให้วันนั้นมีพระรัตนตรัยครบทั้งสามองค์บริบูรณ์เป็นครั้งแรกในโลก คือมีทั้งพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้วันนี้ถูกเรียกว่า "วันพระธรรม" หรือวันพระธรรมจักรอันได้แก่วันที่ล้อแห่งพระธรรมของพระพุทธเจ้าได้หมุนไปเป็นครั้งแรก และ "วันพระสงฆ์" คือวันที่มีพระสงฆ์เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกอีกด้วย

          ดังนั้น วันอาสาฬหบูชาจึงถูกจัดขึ้นเพื่อเป็นการระลึกถึงวันคล้ายที่เกิดเหตุการณ์สำคัญของพระพุทธศาสนาดังกล่าว  ซึ่งสรุปเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในวันอาสาฬหบูชาได้โดยย่อ ดังนี้

                        ๑. เป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงประกาศพระพุทธศาสนา

                        ๒. เป็นวันแรกที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนาธัมมจักกัปปวัตนสูตร

                        ๓. เป็นวันที่พระอริยสงฆ์สาวกองค์แรกเกิดขึ้นในโลก

                        ๔. เป็นวันที่บังเกิดขึ้นแห่งสังฆรัตนะ ทำให้พระรัตนตรัยทั้งสามครบบริบูรณ์ คือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์

          หลักธรรมสำคัญในวันอาสาฬหบูชา เนื่องด้วยวันอาสาฬหบูชามีความเกี่ยวข้องกับปฐมเทศนาที่ชื่อว่าธัมมจักกัปปวัตนสูตรซึ่งเป็นสูตรแรกที่พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงแก่ปัญจวัคคีย์ทั้งห้าในวันอาสาฬหบูชา หลักธรรมในพระสูตรนี้เป็นธรรมะที่สำคัญที่พุทธศาสนิกชนจะได้นำไปพิจารณาและทำความเข้าใจคือ

                   สิ่งที่ไม่ควรเข้าไปเกี่ยวข้องหรือเสพสองอย่าง

                   พระพุทธเจ้าทรงแสดงที่สุดสองอย่างที่บรรพชิตผู้หวังความหลุดพ้นจากวัฏฏะไม่ควรเข้าไปยุ่งเกี่ยวข้องหรือเสพ คือ กามสุขัลลิกานุโยค ได้แก่การปฏิบัติตนย่อหย่อนเกินไปหรือยินในกามสุข และอัตตกิลมถานุโยค  การประพฤติปฏิบัติตนทรมานกายเกินไป ที่เป็นลัทธิความเชื่อของคนในสมัยนั้นว่าสามารถนำไปสู่ความหลุดพ้นได้ เพราะเหตุที่พระองค์ทรงปฏิเสธที่สุดสองอย่างนั้นเพราะพระองค์ได้ทดลองปฏิบัติมาแล้ว

                   มัชฌิมาปฏิปทา (ทางสายกลาง) หรือมรรคมีองค์ ๘ ทางปฏิบัติที่จะนำไปสู่ความหลุดพ้นได้

                   ๑. สัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบ   ๒. สัมมาสังกัปปะ  ความดำริชอบ   ๓. สัมมาวาจา  เจรจาชอบ   ๔. สัมมากัมมันตะ  การงานชอบ   ๕. สัมมาอาชีวะ  เลี้ยงชีพขอบ   ๖. สัมมาวายามะ พยายามชอบ  ๗. สัมมาสติ  ระลึกชอบ   ๘. สัมมาสมาธิ  ตั้งใจชอบ

                    อริยสัจ ๔  ความจริง ๔ ประการคือ

                   ๑. ทุกข์ ได้แก่ ความไม่สบายกาย ไม่สบายใจ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ความพลัดพรากจากสิ่งที่รัก หรือการพบกับสิ่งที่ไม่ชอบ ไม่พอใจ เป็นทุกข์

                   ๒. สมุทัย เหตุให้ทุกข์เกิด ได้แก่ตัณหา ความทะยานอยากทั้ง ๓ คือ กามตัณหา ภวตัณหา และวิภวตัณหา

                   ๓. นิโรธ  ความดับทุกข์ ดับตัณหาทั้งหมดนั้นได้

                   ๔. มรรค ข้อปฏิบัติหรือทางดำเนินให้ถึงการดับทุกข์ ต้องปฏิบัติหรือดำเนินในมรรค ๘ ประการ

                   การประกอบพิธีเนื่องในวันอาสาฬหบูชาของประชาชนทั่วไปนิยมทำบุญตักบาตร ฟังพระธรรมเทศนา เวียนเทียนรอบอุโบสถหรือสถูปเจดีย์พุทธสถานต่างๆ เพื่อเป็นการระลึกถึงวันคล้ายกับวันที่เกิดเหตุการณ์สำคัญทางพระพุทธศาสนาในวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘

วันเข้าพรรษา

                   วันเข้าพรรษา (ภาษาบาลี วสฺส) (ภาษาอังกฤษ Vassa) เป็นวันสำคัญในพุทธศาสนาวันหนึ่งที่พระสงฆ์เถรวาทจะอธิษฐานเข้าจำพรรษา พักประจำอยู่ ณ ที่แห่งใดแห่งหนึ่งตลอดระยะเวลาฤดูฝนที่มีกำหนดว่า ๓ เดือน ตามพระวินัยที่พระพุทธเจ้าได้ทรงบัญญัติไว้เป็นธรรมเนียมสำหรับพระภิกษุสงฆ์ โดยไม่ไปค้างแรมที่อื่น หรือที่เรียกกันว่า จำพรรษา พิธีเข้าพรรษาเป็นข้อปฏิบัติสำหรับพระสงฆ์โดยตรง การเข้าพรรษาเริ่มตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ จนถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ (ในปีที่มีอธิกมาส ๘ สองคน ก็จะเลื่อนไปเข้าจำพรรษาในเดือน ๘ หนหลัง)

                   สาเหตุที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติให้พระภิกษุจำพรรษา ณ สถานที่แห่งใดแห่งหนึ่งตลอดระยะฤดูฝน ๓ เดือนนั้น เพื่อให้พระสงฆ์ได้หยุดพักภารกิจการจาริกเพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนาไปตามสถานที่ต่างๆ ซึ่งเป็นความยากลำบากในฤดูฝน และเพื่อป้องกันความเสียหายจากการอาจเหยียบย่ำธัญพีชของชาวบ้านที่ปลูกกันในฤดูฝน พระสงฆ์จะได้มีเวลาศึกษาพระธรรมวินัยกับพระสงฆ์ที่ทรงความรู้ ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์สร้างความสามัคคีในหมู่คณะสงฆ์อีกด้วย

                     ในวันเข้าพรรษาและช่วงฤดูจำพรรษาตลอดทั้ง ๓ เดือน พุทธศาสนิกชนชาวไทยถือเป็นโอกาสอันดีที่จะบำเพ็ญกุศลด้วยการเข้าวัดทำบุญใส่บาตร รักษาศีล ฟังพระธรรมเทศนา และในวันเข้าพรรษามีประเพณีการถวายผ้าอาบน้ำฝนและเทียนพรรษาแด่พระสงฆ์ สำหรับใช้สอยในการจำพรรษาอีกด้วย ที่ถวายเทียนพรรษาก็เนื่องจากในสมัยก่อน วัดวาอารามต่างๆ ยังไม่มีไฟฟ้าใช้ ในการปฏิบัติศาสนกิจช่วงกลางคืนจำเป็นจะต้องมีไฟ ก็ได้อาศัยการจุดเทียนให้แสงสว่าง และอีกอย่างหนึ่งในช่วงเข้าพรรษา ชายไทยที่เป็นพุทธศาสนิกชน เมื่อมีอายุครบ ๒๐ ปีแล้ว จะนิยมอุปสมบทเป็นพระสงฆ์เพื่ออยู่จำพรรษาตลอดระยะ ๓ เดือน และจะได้ศึกษาหลักธรรมคำสั่งสอนในทางพระพุทธศาสนาในขณะบวชจำพรรษานั้น และจะได้นำมาประพฤติปฏิบัติหลังจากที่ลาสิกขามาแล้ว

                      การเข้าพรรษาตามพระวินัยมี ๒ ประเภทคือ

                     ๑. ปุริมพรรษา คือการเข้าพรรษาแรก เริ่มตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ จนถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ (ในปีที่มีอธิกมาส ๘ สองหน จะเริ่มในวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ หลัง จนถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ หลัง)

                    ๒. ปัจฉิมพรรษา คือการเข้าพรรษาหลัง สำหรับพระภิกษุที่ต้องเดินทางไกลหรือมีเหตุสุดวิสัยที่ทำให้ไม่สามารถกลับมาเข้าพรรษาแรกได้ทัน ต้องไปเข้าพรรษาหลังคือ วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๙ แล้วจะไปออกพรรษาในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒

                      หลังจากที่พระภิกษุสงฆ์อธิษฐานจำพรรษา ณ ที่ใดที่หนึ่งตลอดฤดู ๓ เดือน ทรงห้ามไปค้างแรมคืนที่อื่น  แต่พระพุทธองค์ทรงอนุญาตให้ไปค้างแรมคืนที่อื่นได้ด้วยมีเหตุจำเป็น แต่จะต้องกลับมาภายในระยะเวลา ๗ วัน พรรษาไม่ขาด เรียกว่า สัตตาหะกรณียะ  เหตุที่ทรงอนุญาตให้ไปด้วยสัตตาหะกรณียะ คือ

                      ๑. ไปเเพื่อรักษาพยาบาลภิกษุเจ็บไข้

                      ๒. ไปเพื่อระงับกิกษุสามเณรที่กระสันจะลาสิกขา

                      ๓. ไปเพื่อกิจธุระของสงฆ์ วิหารหรือกุฎีเกิดชำรุดไปเพื่อหาอุปกรณ์มาซ่อมแซม

                      ๔. ทายกทายิกานิมนต์ไปในงานทำบุญ หรือไปงานอื่นที่เป็นกิจลักษณะก็ได้

                    เมื่อถึงวันเข้าพรรษา พุทธศาสนิกชนนิยมไปทำบุญตักบาตร ฟังพระธรรมเทศนา ถวายผ้าอาบน้ำฝน ถวายเทียนพรรษา และในช่วงระยะเข้าพรรษา ๓ เดือน บางคนก็อาจจะอธิษฐานงดเว้นอบายมุขต่าง เป็นกรณีพิเศษ เช่น งดดื่มสุรา งดฆ่าสัตว์  อธิษฐานรักษาศีลอุโบสถ ฟังเทศน์ทุกวันพระ เป็นต้น จะได้เป็นการสร้างบุญกุศลคุณงามความดี สร้างสมบารมีในเทศกาลเข้าพรรษาอีกด้วย

monk2